กิจกรรมศิลปะ

สวัสดีค่ะสำหรับวันนี้เราจะได้นำเสนองานศิลปะที่สามารถสอนภาษาให้กับเด็กเราอาจจะมีวิธีในการสอนภาษาที่หลากหลายก็แล้วแต่วิธีของแต่ละคน อาจจะเป็นการให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นมา และบอกว่าทำไมถึงสร้างงานนี้ขึ้นมา...

ดูงานอนุบาลสามเสน

สวัสดีค่ะ วันที่ 14 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา พวกเราได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้กับเด็กๆ ซึ่งมีโต๊กิจกรรม 4 โต๊ะ คือ วาดภาพด้วยสีเทียน งานประดิษฐ์ ปั้นแป้งโด เด็กก็ทำงานศิลปะอย่างสนุกสนาน เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยเด็กๆก็นำผลงานไปส่งให้คุณครูและบอกชื่อผลงานและ เรื่องราวที่อยู่ในภาพ ซึ่งเป็นการสอนสิลปะไปในตัวอีกด้วย และในตอนบ่ายเราก็ได้เข้าร่วมสัมนาเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยซึ่งเราได้ความรู้ เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมามากมายเลยทีเดียว ไม่ว่า จะเป็น กิจกรรมหลัก 6กิจกรรม เทคนิคการสอนในแต่ละกิจกรรมซึ่งจะเป็นประโยชน์มากมายในการฝึกสอนในโอกาศต่อ ไป........

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ถ้าอ่านตั้งแต่ปฐมวัย..ภาษาไทยคงไม่แย่อย่างนี้

โดย สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ความสำคัญของ
"ภาษา" ไม่ได้มีเพียงแค่เป็นสิ่งที่คนแต่ละชนชาติใช้เพื่อการสื่อสารเท่านั้น แต่ "ภาษา" เปรียบเสมือนเป็น "วัฒนธรรม" อันแสดงถึงความเป็น "เอกลักษณ์" หรือ "ความเหมือนกัน" ของชนชาตินั้นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อมองลักษณะการใช้ภาษาของ "คนไทยแท้ๆ" ณ วันนี้ ก็คงต้องพูดตรงๆ ว่า "อดใจหายไม่ได้จริงๆ" ..."ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไรที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือแน่นอนยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้นรัฐบาลใดที่ต้องปกครองชนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียน และออกบัญญัติบังคับให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง แต่ความคิดเห็นเช่นนี้มิใช่จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ แต่ถ้ายังจัดการแปลงภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็แปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น และยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"บทประพันธ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งจากพระราชนิพนธ์ เรื่อง "ความเป็นชาติโดยแท้จริง" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งนอกจากจะเป็นบทประพันธ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์แล้ว ยังเป็นการสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ "ภาษา" อีกด้วยอย่างไรก็ตาม คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธหากพิจารณาจากผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้โดยแบ่งตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ โดยพบว่าเยาวชนระดับชั้น ป.6 มีคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาไม่ถึง 50% โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยเพียง 36.58% ผนวกกับลักษณะการใช้ภาษาของคนในสังคมที่มักจะใช้ "ไทยคำอังกฤษคำ" การออกเสียงแบบผิดๆ ถูกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกเสียงคำควบกล้ำที่นับวันก็ยิ่งดูเหมือนว่าจะออกเสียงได้แย่ลงเรื่อยๆหรือแม้แต่การบัญญัติศัพท์แปลกๆ ในกลุ่มวัยรุ่น เช่น แอ๊บแบ๊ว ชิวชิว เป็นต้นนั้น ล้วนเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของ "วิกฤตด้านภาษาไทย"วิกฤตด้านภาษาที่เกิดขึ้นแม้จะเป็นปัญหาที่ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมเหมือนเช่นปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ หรือแม้แต่สังคม แต่หากปล่อยให้ปัญหาด้านวัฒนธรรมดังกล่าวหมักหมมจน "ตกผลึก" อาจจะส่งผลให้ "ภาษาไทยแบบดั้งเดิมสูญพันธุ์" ก็เป็นได้ และหากภาษาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยสูญสลายไปก็คงไม่ต่างกับการสูญสิ้น "ความเป็นตัวตน"วัฒนธรรมด้านภาษาที่แฝงมาพร้อมความเจริญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ หรือแม้แต่แนวคิดทฤษฎีต่างๆ ซึ่งไทยได้รับจากการเปิดประเทศนั้น แม้จะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ "ภาษาไทยเสื่อมมนต์ขลัง" แต่ภาพรวมดูจะเป็นความผิดของ "สังคม" ที่ต่างปล่อยปละละเลยมาช้านาน แต่ถ้าทุกฝ่ายเอาจริงเอาจังและใส่ใจเรื่องนี้มากขึ้น โดยการปลูกฝังให้เด็กไทยรักการอ่าน และเรียนรู้ที่จะอ่านตั้งแต่ปฐมวัย "ภาษาไทย" ก็คงไม่แย่อย่างที่เห็น ณ วันนี้จากคำกล่าวที่ว่า "ไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก" การปลูกฝังอุปนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กนั้น จำเป็นต้องเริ่มปลูกฝังให้ "อ่านตั้งแต่ทารก" โดยบุคคลที่มีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้น "พ่อแม่ผู้ปกครอง" ... "ครู" แม้ว่าเด็กแรกเกิดถึงหนึ่งปี อาจจะไม่เข้าใจความหมายของ "คำ" แต่การสอนการอ่านให้เด็กในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ถือเป็นเรื่องที่เร็วเกินไป โดยวิธีสำคัญที่เด็กจะได้ประสบการณ์ทางภาษา คือ "การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง"การที่พ่อแม่จับเด็กมานั่งบนตักแล้วอ่านหนังสือ นอกจากจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่และเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และมีความสุขแล้ว ยังเป็นรูปแบบของการใช้หนังสือเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เด็กเกิดความสนใจ และการจดจำภาษา จนทำให้เด็กสามารถใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมในอนาคต โดยหนังสือที่เหมาะกับวัยทารก ควรบรรยายด้วยภาษาที่เรียบง่าย มีภาพขนาดใหญ่ และชัดเจน วัสดุที่ใช้ทำด้วยกระดาษหนา และค่อนข้างทนทาน หรืออาจเป็นหนังสือที่ทำด้วยวัสดุที่มีความนุ่ม เช่น หนังสือผ้า พลาสติค ฟองน้ำสำหรับผู้ใหญ่ หรือวัยรุ่นโทรทัศน์...อินเตอร์เน็ต...ภาพยนตร์...อาจจะเป็น "หน้าต่าง" ที่ใช้เปิดให้เห็นโลกในมุมมองที่แตกต่าง แต่สำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว "การอ่าน" ถือเป็น "หน้าต่างแรก" ของชีวิตในการเปิด "โลกแห่งจินตนาการ" และ "โลกแห่งความจริง" ดังนั้น การเลือกหนังสือเล่มแรกให้แก่เด็ก เมื่อถึงวัยที่จะต้องเริ่มหัดอ่านด้วยตนเอง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการเป็นจุดเริ่มต้นของ "ความรู้สึกรักการอ่านที่จะฝังรากลึกไปจนตลอดชีวิต"ในช่วงวัย 2-3 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเตรียมความพร้อมในการอ่านให้แก่ลูกน้อยนั้นไม่ควรเริ่มต้นจากการสอนให้ลูกอ่านพยัญชนะโดยทันที เนื่องจากการสอนด้วยวิธีดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่สร้างความรู้สึก "เกลียด" หนังสือให้แก่เด็กโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะเด็กจะรู้สึกว่าถูกบังคับให้ท่องจำเพราะฉะนั้นการเตรียมความพร้อมควรเริ่มจากการให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องวัตถุสิ่งของ (Objects) เหตุการณ์ (Events) ความคิด (Thoughts) และความรู้สึก (Feelings) รวมทั้งทักษะการพัฒนาภาษาและคำศัพท์ (Language Skills and Vocabulary) โดยควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิด และเล่าประสบการณ์ด้วยตนเองซึ่งพ่อแม่สามารถช่วยเหลือเด็กๆ ให้เรียนรู้ทักษะทั้งหมดนี้ได้ จากการทำกิจกรรมต่างๆ ก่อนการอ่าน (Pre-reading Activities) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสำหรับแนวทางการเตรียมความพร้อมให้เด็กเป็นนักอ่านที่ดี สามารถทำได้โดย "การอ่านทุกอย่างตามท้องถนน" เล่นเกมหาคำศัพท์ (Word Games) ระหว่างนั่งบนรถโดยใช้ป้ายโฆษณาและป้ายตามท้องถนน (Billboards and Street Signs) เป็นสื่อ "การถามเพื่อให้เด็กเล่าบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ" เป็นการสอนให้เด็กรู้จักวิธีการพรรณนาที่ดีและเรียนรู้ว่าจะสร้างเรื่องเล่านั้นๆ ได้อย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม กิจกรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับการกระตุ้นให้เด็กเป็นนักอ่านที่ดี ในช่วงปีก่อนเรียน (Preschool years) ก็คือ "การอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง"การเพาะบ่มอุปนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กนั้น แม้จะต้องอาศัยพ่อแม่เป็น "กำลังหลัก" ในการให้ความใส่ใจดูแลเอาใจใส่โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง แต่ก็คงต้องอาศัยนโยบายด้านการศึกษาจากภาครัฐเป็น "กำลังเสริม" ในการแก้ไขวิกฤต "เด็กไทยอ่อนภาษาไทย" แบบยั่งยืนเพราะหากปล่อยปละละเลยให้ "เด็กไทย" ทั้งอ่อนภาษา และอ่านเพียงไม่กี่บรรทัดต่อปีเช่นนี้...ก็ควรจะได้ทรัพยากรบุคคลอย่างที่เห็นๆ กันอยู่ ณ วันนี้...เมื่อ "วันนี้" เป็นอย่างนี้แล้ว "พรุ่งนี้" จะเป็นอย่างไร? คำตอบคงมีอยู่ในใจ คงไม่ต้องอธิบายอะไร? ให้ยาวไปกว่านี้...!!

***ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11061,หน้า 5

ไม่มีความคิดเห็น:

รูป